วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

การหมุนเวียนของเลือด


การหมุนเวียนของเลือด

หัวใจ (Heart) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เสมือนเครื่องสูบฉีดทำให้เกิดแรงดันในหลอดเลือดเพื่อให้ไหลไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายและในขณะเดียวกันก็จะสูบเลือกกลับเข้าสู่หัวใจตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างเอียงไปทางซ้ายของแนวกลางตัว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรงภายในมี 4 ห้องเป็นโพรงแบ่งเป็นห้องบนสองห้อง เรียกว่า  เอเตรียม (Atrium) ห้องล่างสองห้องเรียกว่า เวนตริเคิล (Ventrcle) หัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้ายมีลิ้นไบคัสพิด (Tricuspid Valve) คั่นอยู่ ซึ่งลิ้นทั้งสองข้างทำหน้าที่ปิดและเปิดเพื่อไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
     -หัวในห้องบนซ้าย(Left atrium)       มีหน้าที่ รับเลือดที่ผ่านการฟอกที่ปอด
     -หัวใจห้องบนขวา(Right atrium)      มีหน้าที่ รับเลือดที่ร่างกายใช้แล้ว
     -หัวใจห้องล่างขวา(Right ventricle)  มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอด
     -หัวใจห้องล่างซ้าย(Left ventricle)   มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
 

รูป  แสดง หัวใจคน
หัวใจห้องเอเตรียมขวาจะรับเลือดจากหลอดเลือดดำ ชื่อชุพีเรียเวนาคาวา โดยจะนำเลือดมาจากศีรษะและแขน และรับเลือดจากหลอดเลือดดำ ชื่ออินฟีเรียเวนาคาวา ซึ่งนำเลือดจากลำตัวและขา กลับเข้าสู้หัวใจ 
เมื่อหัวใจห้องเอเตรียมขวาบีบตัว เลือดจะเข้าสู่บริเวณ เวนตริเคิลขวาโดยผ่านลิ้นไตรคัสพิด เมื่อเวนตริเคิลขวาบีบตัวเลือดจะผ่านลิ้น พัลโมนารีเซมิลูนาร์ หลอดเลือดนี้จะนำเลือดไปฟอกยังปอด เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซ โดยเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และรับก๊าซออกซิเจน ไหลกลับสู่หัวใจทางหลอดเลือดดำ เข้าสู้ห้องเอเตรียมซ้าย เมื่อเอเตรียมซ้ายบีบตัวเลือดก็จะผ่านเลือดก็จะผ่านลิ้นไบคัสเข้าสู้ห้อง บริเวณ เวนตริเคิลซ้าย แล้วบีบตัวดันเลือดให้ไหลผ่านลิ้นเอออร์ติกเซมิลูนาร์ เข้าสู่เอออร์ตา ซึ่งเป็นหลอดเลือดใหญ่ จากเอออร์ตาจะมีหลอดเลือดแตกแขนงแยกไปยังส่วนต่างๆในร่างกาย

เพื่อให้เห็นชัดเจนขอให้ดูแผนภาพต่อไปนี้

 ซึ่งเราสามารถสรุปเป็นหน้าที่ของระบบหมุนเวียนโลหิตได้ดังนี้
     1. นำอาหารและสารอื่น ๆ รวมทั้งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย
     2. นำคาร์บอนไดออกไซด์ไปขับออกทางปอดเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกลับมาใช้
     3. ขับถ่ายน้ำของเสียซึ่งเกิดจากเมตาโบลิซึมเพื่อขับออกภายนอกร่างกาย
     4. ช่วยควบคุมและรักษาดุลของสารน้ำภายในร่างกาย
     5. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ

 

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

ระบบหายใจ


ระบบ หายใจ
มนุษย์ทุกคนต้อง หายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
          1.จมูก (Nose)
จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่น ละอองด้วย
          2. หลอดคอ (Pharynx)
เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกไทรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
          3. หลอดเสียง (Larynx)
เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
           4. หลอดลม (Trachea)
เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา              เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์
            5. ปอด (Lung)
ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลมระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน  หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ
         6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด
           จากความรู้ในระบบหมุนเวียนเลือด  นอกจากเลือดจะลำเลียงอาหารไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว
ภายในเลือดยังมีแก๊สสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ แก๊สออกซิเจน(
O2) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) อยู่ด้วย

 
 
ระบบหายใจ คือ ระบบที่ร่างกายแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยร่างกายจะรับแก๊สออกซิเจนที่อยู่ภายนอกเข้า สู่ร่างกาย และขับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย  อวัยวะที่สำคัญในระบบนี้ได้แก่
                     จมูก  หลอดลม ปอด  กล้ามเนื้อกระบังลมและกระดูกซี่โครง
 

      จมูก ทำหน้าที่ในการนำอากาศเข้าสู่ร่างกายและรับรู้กลิ่น  ภายในจมูกจะมีขนเล็ก ๆ ทำหน้าที่กรองฝุ่นละอองและมีเยื่อเมือกหนาบุอยู่ คอยดักจับเชื้อโรคและมีกลุ่มประสาทสัมผัสกลิ่นคอยรับกลิ่น  อากาศที่สูดหายใจเข้าไปเมื่อผ่านโพรงจมูกแล้วจะลงสู่คอหอย  ลิ้นไก่ จะช่วยปิดโพรงจมูกและช่องปากเพื่อมิให้อากาศไหลกลับ
     หลอดลม
จะทอดลงไปในช่องอกปลายแยก เป็นขั้วปอดทั้งสองข้าง เป็นท่อทางผ่านของอากาศและออกจากปอดที่ใหญ่ที่สุด
     ปอด  เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ประกอบด้วยถุงลมเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ถุงเหล่านี้ยืดหยุ่นและหดตัวได้ ปอดจะตั้งอยู่ภายในทรวงอกทั้งสองข้าง ตรงกลางระหว่างขั้วปอดเป็นที่ตั้งของหัวใจ  ปอดซีกขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าปอดซีกซ้าย  ปอดทั้งสองข้างทำหน้าที่เหมือนกันคือฟอกโลหิตดำให้เป็นโลหิตแดง  โดยการถ่ายเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO
2) และน้ำ(H2O)  ออก  แล้วเติมออกซิเจน(O2 )  เข้าไป


      กระบังลมและซี่โครง  เป็นกลไกในการหายใจ  กล่าวคือ ขณะที่ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดมีปริมาณมาก  สมองจะสั่งงานมายังกระบังลมและซี่โครง ให้กระบังลมหดตัวและซี่โครงเคลื่อนตัวสูงขึ้นทำให้เกิดการหายใจเข้า หรือ ขณะที่กระบังลมขยายตัว และซี่โครงเคลื่อนตัวต่ำลงทำให้เกิดการหายใจออก

 
 

     โดยทั่ว ๆ ไปแล้วคนปกติจะมีอัตราการหายใจประมาณ 14-18 ครั้งต่อนาที การหายใจเป็นไปโดยอัตโนมัติ 
เราไม่สามารถกลั้นหายใจได้เกิน 1 นาที อย่างไรก็ตามอัตราการหายใจจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
            1.อายุ      

               - เด็กทารกหายใจประมาณ 30
40 ครั้งต่อนาที
              
- ผู้ใหญ่ หายใจประมาณ 12-16 ครั้งต่อนาที
           
2.ภาวะของร่างกาย
              
- ขณะที่ออกกำลังกายหรือเป็นไข้ การหายใจจะเร็วหรือแรงเพื่อให้ร่างกายได้รับก๊าซออกซิเจนมาก
              
- ขณะนอนหลับ ร่างกายจะทำงานน้อยลง จึงต้องการก๊าซออกซิเจนน้อยกว่าปกติ การหายใจจะช้าลง
              กล่าวโดยสรุป สภาพของร่างกาย  การวิตกกังวล  อารมณ์  กิจกรรมที่ทำและวัย  มีผลต่ออัตราการหายใจ  เด็กทารกจะมีอัตราการหายใจสูงกว่าเด็กโตและผู้ใหญ่

 
การหายใจ (respiration) เป็นการนำอากาศเข้าและออกจากร่างกาย ส่งผลให้แก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหารได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ กระบวนการหายใจเกิดขึ้นกับทุกเซลล์ตลอดเวลา การหายใจจำเป็นต้องอาศัยโครงสร้าง 2 ชนิดคือ กล้ามเนื้อกะบังลม และกระดูกซี่โครง ซึ่งมีกลไกการทำงานของระบบหายใจ ดังนี้

 
:: กลไกการทำงานของระบบหายใจ ::
1. การหายใจเข้า (Inspiration) กะบังลมจะเลื่อนต่ำลง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูงขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดลดต่ำลงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม และไปยังถุงลมปอด

2. การหายใจออก (Expiration) กะบังลมจะเลื่อนสูง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดไปสู่หลอดลมและออกทางจมูก

สิ่งที่กำหนดอัตราการหายใจเข้าและ ออก คือ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดใน เลือดต่ำจะทำให้การหายใจช้าลง เช่น การนอนหลับ ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดในเลือดสูงจะทำให้การหายใจเร็วขึ้น เช่น การออกกำลังกาย
การหมุนเวียนของแก๊ส เป็นการแลก เปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจน เกิดขึ้นที่บริเวณถุงลมปอด ด้วยการแพร่ของก๊าซออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย และก๊าซออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหารในเซลล์ของร่างกาย ทำให้ได้พลังงาน น้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังสมการ

เอนไซม์
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจาก ปฏิกิริยาเคมีระหว่างก๊าซออกซิเจนกับอาหารจะแพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอด เลือดฝอยและลำเลียงไปยังปอด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะแพร่เข้าสู่หลอดลมเล็กๆ ของปอดขับออกจากร่างกายพร้อมกับลมหายใจออก

               
การไอ การจาม การหาวและการสะอึก

อาการที่เกี่ยวข้องกับการหายใจมี ดังนี้

1. การจาม เกิดจากการหายใจเอาอากาศที่ไม่สะอาดเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจึงพยายามขับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกมานอกร่างกาย โดยการหายใจเข้าลึกแล้วหายใจออกทันที

2. การหาว เกิดจากการที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในเลือดมากเกินไป จึงต้องขับออกจากร่างกาย โดยการหายใจเข้ายาวและลึก เพื่อรับแก๊สออกซิเจนเข้าปอดและแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือด

3. การสะอึก เกิดจากกะบังลมหดตัวเป็นจังหวะๆ ขณะหดตัวอากาศจะถูกดันผ่านลงสู่ปอดทันที ทำให้สายเสียงสั่น เกิดเสียงขึ้น

4. การไอ เป็นการหายใจอย่างรุนแรงเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหลุด เข้าไปในกล่องเสียงและหลอดลม ร่างกายจะมีการหายใจเข้ายาวและหายใจออกอย่างแรง

การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะภายในระบบ
1.
  พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ เพื่อปอดจะได้รับก๊าซออกซิเจนเพียงพอ
2.
 
ไม่สวมเสื้อผ้าหรือเข็มขัดที่รัดตึงจนเกินไป เพราะปอดจะขยายตัวไม่สะดวก
3.
  สวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นอยู่เสมอ 
ในขณะที่อากาศเย็น
4.
  ไม่สูบบุหรี่ และไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดหรือวัณโรค 
เพราะอาจจะติดเชื้อได้
5.
 
ยืนหรือนั่งตัวตรง เพื่อให้ปอดทำงานได้สะดวก
6.
  ควรออกกำลังกายอยู่เสมอ